ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

สุริยปราคา

ตามศัพท์แปลว่า "เข้ามาใกล้ดวงอาทิตย์" หมายถึงปรากฎการณ์ที่เกิดขึ้นใกล้กับดวงอาทิตย์ ชาวบ้านเรียกว่าสุริยคราส แปลว่า กินดวงอาทิตย์ เพราะคนโบราณเชื่อว่า มียักษ์ชื่อ ราหู คอยจับดวงอาทิตย์กิน

สุริยคราสเป็นปรากฎการณ์ธรรมชาติที่เกิดขึ้นในเวลากลางวัน เพราะดวงจันทร์เคลื่อนที่ไปอยู่ระหว่าง ดวงอาทิตย์กับโลก เงาของดวงจันทร์ที่เกิดขึ้นมีสองลักษณะคือ เงามืด และเงามัว เงามืดมีปลายแหลม ส่วนเงามัวปลายบาน ถ้าเงามัวของดวงจันทร์สัมผัสโลกที่ใด ที่นั่นจะเห็นดวงอาทิตย์ถูกดวงจันทร์บังไม่หมด จึงเห็นดวงอาทิตย์เป็นเสี้ยว เรียกว่า สุริยปราคาบางส่วน ถ้าเงามืดทอดไปถึงผิวโลกแห่งใด คนบนโลก ณ ที่นั้นจะเห็นดวงจันทร์บังดวงอาทิคย์ได้หมดดวงเรียกว่า สุริยปราคาเต็มดวง แต่ถ้าดวงจันทร์อยู่ห่างโลกมากขึ้น เงามืดของดวงจันทร์ยาวไปถึงโลกด้วยเงามัวสวย ที่ต่อจากปลายเงามืดเท่านั้นที่สัมผัสผิวโลก คนบนโลกที่อยู่ภายใต้เงามัวส่วนนี้ จะเห็นดวงอาทิตย์สว่างเป็นรูปวงแหวนสีดำ จึงเรียกว่า สุริยปราคาวงแหวน

จำนวนการเกิดสุริยปราคา และจันทรปราคาในหนึ่งปีมีมากที่สุดเจ็ดครั้ง สุริยปราคาเต็มดวงจะเกิดอย่างมาก ไม่เกินเจ็ดนาทีแปดวินาที และเกิดในไทย เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ.2498

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย