ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

โรคบิด

เป็นโรคของระบบทางเดินอาหารส่วนลำไส้ใหญ่ แบ่งได้เป็นสองประเภทคือ โรคบิดชนิดมีตัว และโรคบิดชนิดไม่มีตัว

1. โรคบิดชนิดมีตัว 

เกิดจากพยาธิชนิดหนึ่งจำพวกอะมีบา เมื่อคนบริโภคซิสต์ (ตัวบิดมีเกราะที่มีอยู่ในอาหารหรือน้ำซึ่งปนเปื้อนด้วยอุจจาระของผู้ป่วยหรือพาหะเข้าไป ซิสต์จะแตกออกในลำไส้เล็กกลายเป็นโตรโฟชอยด์แล้วเคลื่อนที่ต่อไปยังลำไส้ใหญ่ มีการเจริญและแบ่งตัวที่นั่น แล้วจะเคลื่อนที่ผ่านเยื่อเมือกที่บุลำไส้ใหญ่ลงไป ขณะที่เชื้อบิดมีความรุนแรงเพิ่มขึ้น หรือความต้านทานต่อโรคของผู้นั้นลดลง ทำให้เกิดอาการท้องเดินอย่างอ่อนจนถึงกับเป็นบิด

โรคแทรกซ้อนหรือผลจึงสืบเนื่องมาจากโรคบิดมีตัวมีหลายประการได้แก่ ตับอักเสบจากเชื้อบิด เกิดฝีที่ตับ อาจเกิดอาการดีซ่านอย่างอ่อน
การรักษาได้แก่การรักษาตามอาการให้น้ำ และเกลือแร่ให้เลือดและยา

2. โรคบิดชนิดไม่มีตัว 

เกิดจากเชื้อแบคทีเรียพวก "ซิเกลลา" พบบ่อยเป็นพิเศษในเด็กเล็ก ส่วนผู้ใหญ่มีความต้านทานต่อโรคนี้ได้ดีกว่า โรคบิดไม่มีตัวอาจทำให้ผู้ป่วยขาดน้ำและเกลือแร่อย่างมาก เป็นเหตุให้การไหลเวียนของเลือดลมและผู้ป่วยถึงแก่กรรมได้

วิธีการรักษามีหลักคือให้น้ำและเกลือแร่ตามความเหมาะสม รักษาตามอาการให้ยาฆ่าเชื้อแบคทีเรีย

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย