ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

บังสุกุล

ความหมายดั้งเดิมหมายถึงกองฝุ่นหรือกองขยะ ซึ่งมีของที่เขาทิ้งไว้หรือของที่เขาทิ้งแล้ว ไม่มีเจ้าของหวงแหนในกองฝุ่นนั้น ต่อมาเมื่อมีพระบรมพุทธานุญาต ให้พระภิกษุสงฆ์เที่ยวเก็บผ้าที่ผู้อื่นทิ้งเสียแล้วเรียกว่า ผ้าเปื้อนฝุ่น มาตัดเย็บเป็นเครื่องนุ่งห่ม ผ้าที่เขาใช้ห่อศพ หรือคลุมศพที่เขาทิ้งเสีย เมื่อเผาศพแล้ว อยู่ในจำพวกผ้าบังสุกุลด้วย จึงเนื่องไปกับศพทีหลังมาถือเอาการที่พระภิกษุเก็บผ้าบังสุกุลนั้น มาประกอบในการกุศลที่บำเพ็ญให้แก่ผู้ตาย เอาผ้าที่ดีไปทอดที่ศพ แล้วนิมนต์พระภิกษุสงฆ์ไปชักเรียกว่า มหาบังสุกุล จึงเรียกผ้าที่พระภิกษุชักจากศพ และเรียกกิริยาที่พระภิกษุทำพิธีชักผ้าจากศพ ด้วยการปลงกรรมฐานว่า "ชักบังสุกุล"  การบังสุกุลรวมอยู่ในเรื่องชักผ้าทุกสถาน เช่นเดียวกับเรื่องผ้าป่า จึงนับอยู่ในจำพวกเดียวกัน

บังสุกุล ในพิธีเกี่ยวกับศพนี้ มีต่อท้ายในงานอวมงคลคือ งานเกี่ยวกับเรื่องการตาย พิธีบังสุกุลจะมีต่อท้ายหลังจากพระภิกษุสงฆ์ สวดมาติกา หรือสดับปกรณ์ เจ้าภาพจะลากสายโยง หรือภูษาโยง แล้วทอดผ้า พอทอดถึงรูปสุดท้าย พระภิกษุสงฆ์ก็ตั้งพัดพร้อมกันทุกรูป แล้วเริ่มว่าคาถาชักบังสุกุล พร้อมกันจบแล้วชักผ้าออกจากสายโยง หรือภูษาโยง

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย