ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

บะซอลต์

เป็นหินอัคนีพุ หรือหินภูเขาไฟ ชนิดหนึ่ง มีเนื้อละเอียด สีคล้ำเกือบดำและหนัก จัดเป็นหินอัคนีชนิดเป็นด่าง

ในบรรดาหินอัคนีด้วยกัน นอกจากหินแกรนิตแล้ว หินบะซอลต์ เป็นหินที่พบมากที่สุด โดยปรกติจะพบเกิดในบริเวณใหญ่ ๆ อยู่สองบริเวณคือ บนเปลือกโลก ในมหาสมุทร เรียกหินบะซอลต์ในมหาสมุทร และพบเกิดบนเปลือกโลก ในทวีปเรียก หินบะซอลต์ในทวีป หินบะซอลต์ที่ปกคลุมตามพื้นท้องมหาสมุทร มีพื้นที่อย่างน้อยครึ่งหนึ่งของผิวโลกทั้งหมด

หินบะซอลต์ เคลื่อนตัวสู่พื้นผิวโลก ในรูปของลาวา โดยการเคลื่อนผ่านรอยแตกแยกในเปลือกโลก และเกิดการเย็นตัวอย่างรวดเร็ว

หินบะซอลต์ ที่พบในประเทศไทย มีหลายแห่งด้วยกันคือ

1. ภาคเหนือ พบที่จังหวัดเชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง และแพร่
2. ภาคกลาง  พบที่จังหวัดกาญจนบุรี ลพบุรี และเพชรบูรณ์
3. ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ  พบที่จังหวัดนครราชสีมา บุรีรัมย์ สุรินทร์ ศรีษะเกษ และอุบลราชธานี
4. ภาคตะวันออกเฉียงใต้  พบที่จังหวัดปราจีนบุรี จันทบุรี และตราด

หินบะซอลต์ ของประเทศไทย บางบริเวณ เช่น ที่จังหวัดแพร่ กาญจนบุรี ศรีษะเกษ  อุบลราชธานี จันทบุรี และตราด เป็นต้น กำเนิดที่ให้พลอยชนิดทับทิม และซัฟไฟร์ ที่มีชื่อเสียงของโลก ตามปรกติ หินบะซอลต์ ที่ให้พลอยนั้น พบเพียงไม่กี่แห่งในโลก

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย