ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

บรรณาการ

มีบทนิยามว่า "สิ่งที่ส่งไปให้ด้วยความเคารพ หรือด้วยไมตรี" ประเพณีการส่งสิ่งของให้กัน มีมาแต่สมัยกรุงสุโขทัย จนถึงสมัยรัตนโกสินทร์ ในรัชกาลที่สี่ ยกเลิกในรัชกาลที่ห้า

มูลเหตุของประเพณีนี้ เนื่องมาจากสัมพันธภาพ ระหว่างประเทศต่าง ๆ รวมทั้งประเทศไทยกับประเทศจีน แต่โบราณด้วยเรื่องไปมาค้าขายถึงกันทางทะเล แต่ประเพณีจีนในครั้งนั้น ถ้าเมืองต่างประเทศไปค้าขายต้องมีเครื่องราชบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน จึงจะปล่อยให้ค้าขายได้โดยสะดวก เรียกว่า จิ้นก้อง

จีนได้ตั้งประเพณีไว้ว่า ชาวต่างประเทศที่จะนำสินค้าไปขายยังประเทศจีน จะต้องจัดเครื่องบรรณาการไปถวายพระเจ้ากรุงจีน และจะต้องมีพระราชสาสน์ ของพระมหากษัตริย์ที่ครองประเทศนั้น ๆ ไปถวายพระเจ้ากรุงจีนด้วย ในสมัยกุบไลข่าน ประเทศไทยในสมัยสุโขทัยได้ส่งราชทูตไปประเทศจีน เริ่มแต่รัชสมัยพ่อขุนรามคำแหง ฯ ในปี พ.ศ.1837 เป็นต้นมา และได้ส่งไปอีกสี่ครั้งในปี พ.ศ.1838,1840 และ 1841

ในสมัยอยุธยาได้ส่งพระราชสาสน์ไปถวายพระเจ้ากรุงจีนรวม 60 ครั้ง ส่วนประเทศจีนก็ได้จัดส่งราชทูตนำเครื่องราชบรรณาการ มาถวายพระมหากษัตริย์ไทยเป็นการตอบแทนหลายครั้ง

ในสมัยธนบุรี และสมัยรัตนโกสินทร์ ประเทศไทยกับประเทศจีน ยังคงมีสัมพันธไมตรีต่อกันเรื่อยมา เพิ่งเลิกมาถือปฎิบัติในรัชกาลที่สี่ และเลิกลับไปโดยสิ้นเชิงนับแต่ปี พ.ศ.2424 เป็นต้นมา

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย