ความรู้ทั่วไป สารนิเทศ การศึกษา คอมพิวเตอร์ >>

เกร็ดความรู้ จากสารานุกรมไทย

พระคันธารราษฎร์

พระพุทธรูปที่ช่างโยนก ชาวคันธารราษฎร์ตั้งแบบอย่างไว้ เท่าที่พบมีอยู่เก้าปางด้วยกันคือ

1. ปางสมาธิ  ทำพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ วางพระหัตถ์ขวาเหนือพระหัตถ์ซ้าย หงายซ้อนกันที่หน้าตัก หมายเรื่องพระพุทธประวัติ ตรงตรัสรู้พระโพธิญาณ
2. ปางมารวิชัย  เหมือนปางสมาธิ แต่พระหัตถ์เบิ้องขวาคว่ำลงที่พระเพลา ปลายนิ้วพระหัตถ์ชี้ลงที่แผ่นดิน หมายเรื่อง พุทธประวัติตอนเมื่อทรงอ้างพระธรณี เป็นพยานแก่พญามาร
3. ปางปฐมเทศนา  ทำเป็นพระพุทธรูปนั่งขัดสมาธิ ก็มี นั่งห้อยพระบาทก็มี เครื่องหมายเป็นสำคัญอยู่ที่พระหัตถ์เบื้องขวา ทำนิ้วพระหัตถ์กรีดเป็นวงกลม เป็นเครื่องหมายว่า พระธรรมจักร ส่วนพระหัตถ์เบื้องซ้ายนั้น ทำประคองพระหัตถ์เบื้องขวาบ้าง วางบนเพลาบ้าง ถือชายจีวรบ้าง
4. ปางอุ้มบาตร  เหมือนปางสมาธิ แต่พระหัตถ์ทั้งสองประคองบาตร
5. ปางประทานอภัย  ยกพระหัตถ์เบื้องขวาตั้งหันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า (อย่างที่เรียกกันว่า พระห้ามญาติ)  ส่วนพระองค์ทำเป็นพระยืนก็มี เดินก้มี นั่งขัดสมาธิก็มี
6. ปางประทานพร  ทำห้อยพระหัถต์เบื้องขวา หันฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า เป็นเครื่องหมาย แต่ส่วนพระองค์พระพุทธรูปนั้น ทำนั่งขัดสมาธิก็มี ยืนก็มี เดินก็มี
7. ปางมหาปาฎิหาริย์ (ยมกปาฎิหารย์)  ทำดอกบัวรองรับพระพุทธรูปเป็นเครื่องหมาย ส่วนพระองค์พระพุทธรูป ทำนั่งก็มี พระหัตถ์มักทำเช่นเดียวกับปฐมเทศนา
8. ปางลีลา  ทำพระพุทธรูปอาการกำลังก้าวพระบาททรงดำเนิน
9. ปางปรินิพพาน  ทำเป็นพระพุทธรูปบรรทมตะแคงเบื้องขวา อย่างที่เรียกกันว่า พระนอน หรือพระไสยา

พระพุทธรูปคันธาระนี้ ตามตำนานว่า เกิดขึ้นในสมัยพระยามิลินท์ คือ พุทธศตวรรษที่ 4 แต่พระพุทธรูปคันธาระที่แพร่หลาย อยู่ในเวลานี้เป็นสมัยพระเจ้ากนิษกะ ทั้งนั้น (พุทธศตวรรษที่ 7)

>>> กลับหน้าหลัก สารานุกรมไทย >>>

แชร์ไปที่ไหนดี แชร์ให้เพื่อนสิ แชร์ให้เพื่อนได้ แชร์ให้เพื่อนเลย