เทคโนโลยี นวัตกรรม สิ่งประดิษฐ์ วิศวกรรม เกษตรศาสตร์ >>
กระเจี๊ยบเขียว
กองส่งเสริมพืชสวน กรมส่งเสริมการเกษตร
โรคกระเจี๊ยบเขียว
โรคใบจุด (Leaf spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Pseudocercospora abelmoschi (Ell & Ev.) Deighton
ลักษณะอาการ มักจะเป็นกับต้นกระเจี๊ยบเขียวที่มีอายุตั้งแต่ 60 วัน ขึ้นไป
ในระยะเริ่มแรกเชื้อราจะเข้าทำลายที่ใบล่างของลำต้น
และจะลุกลามขึ้นไปสู่ยอดเมื่อพลิกด้านล่างของใบดูพบว่าจะมีเชื้อราสีขาวเป็นผงคล้ายแป้ง
หรือถ้าระบาดรุนแรงจะมีสีเทาปนดำ ด้านหน้าใบจะเป็นแผลสีเหลืองปนน้ำตาล
ต้นทรุดโทรมเร็ว ใบร่วงและแห้งตายในที่สุด กระเจี๊ยบเขียวไม่ติดฝักหรือติดฝักน้อย
ไม่สมบูรณ์ คดงอ แคระแกร็น ไม่เป็นที่ต้องการของตลาด
การแพร่ระบาด โรคนี้แพร่ระบาดได้ง่าย และรวดเร็วในปลายฤดูฝน
โรคจะทวีความรุนรงมากขึ้น ในฤดูหนาวตามแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง
เนื่องจากหมอกและน้ำค้าง
เชื้อราจะแพร่กระจายไปกับลมหรือกระเด็นไปกับละอองน้ำที่ใช้รดต้นกระเจี๊ยบเขียว
การป้องกันกำจัด
- เก็บรวบรวมใบที่เป็นโรคออกไปเผาไฟทำลายเสีย
ทั้งนี้รวมถึงเศษพืชที่ร่วงหล่นอยู่ตามพื้นดินด้วย
เพื่อไม่ให้เป็นแหล่งแพร่กระจาย และเป็นการลดปริมาณของเชื้อราในแปลงปลูก
- พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มโปรปิแน็บ (propineb) เช่น แอนทราโคล (Antracol 70% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร หรือ แมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น เอซินแมก (Azinmag 80% WP.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 5-7 วัน ถ้ามีการระบาดมาก แต่ถ้าอาการของโรคลดลงควรพ่นให้ห่างออกไปเป็น 10-15 วันครั้ง ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับความรุนแรงของโรค
โรคฝักจุดหรือฝักลาย (Pod spot)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Alternaria sp.
ลักษณะอาการ
เชื้อราที่ติดมากับเมล็ดพันธุ์จะแสดงอาการเมื่อกระเจี๊ยบเขียวเริ่มติดฝักเมื่ออายุ
45-50 วันหลังจากปลูก ทำให้เกิดเป็นจุดสีดำหรือสีน้ำตาลเล็ก ๆ
เท่าปลายเข็มหมุดที่ผิวของฝัก แผลเหล่านี้จะกระจายอยู่ทั่วไป
จำนวนแผลจะเพิ่มมากขึ้นเมื่อสภาพแวดล้อมเหมาะสม
เมื่อระบาดรุนแรงแผลบนฝักจะขยายมองเป็นจุดใหญ่หรือแผลติดต่อเป็นทางยาวสีน้ำตาลเข้ม
การแพร่ระบาด
เนื่องจากโรคนี้ติดมากับเมล็ดพันธุ์และจะแพร่ระบาดได้รวดเร็วในฤดูฝนถึงฤดูหนาว
โดยโรคจะทวีความรุนแรงมากขึ้นในแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง
เชื้อราจะแพร่ไปตามน้ำที่รดหรือปลิวไปกับลมทำให้โรคระบาดรุนแรงกว้างขวางขึ้นในบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
- คลุกเมล็ดด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มของเบนโนมิล + ไทแรม (benomyl +
thiram) เช่น เบนเลท ที (Benlate T 20% W.P.) ในอัตรา 5 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์
หรือสารในกลุ่มไทอะเบนดาโซล (thiabendazole) เช่น พรอนโต้ (Pronto 45% W.P.)
อัตรา 60 กรัมต่อเมล็ด 1 ปอนด์
พรมน้ำบนเมล็ดพอเปียกแล้วโรยสารป้องกันกำจัดโรคพืชดังกล่าว
ข้างต้นลงไปคลุกเคล้าให้ทั่ว ผึ่งให้แห้งแล้วจึงนำเมล็ดไปปลูก
- พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืช ในกลุ่มไอโปรไดโอน (iprodione) เช่น รอฟรัล
(Rovral 50% W.P.) อัตรา 30 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร พ่นทุก 7 วัน
หลังจากกระเจี๊ยบเขียวติดฝัก แต่มีข้อจำกัดของการใช้สารชนิดนี้ คือ
ไม่ควรพ่นติดต่อกันเกิน 3 ครั้ง ควรใช้สารชนิดอื่นพ่นสลับกันไป เช่น
ใช้สารในกลุ่ม โปรพีเนบ + ไซมอกซานิล (propineb + cymoxanil)
ซึ่งมีชื่อว่าไดอะมีเทน (Diametane 75% W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7
วัน สลับกับรอฟรัล
- ฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรค หลังจากคัดทิ้งแล้วควรเก็บรวบรวมไปเผาทำลายเสีย ไม่ควรเอาไปทิ้งไว้ตามขอบแปลงหรือบริเวณรอบ ๆ แปลงปลูก จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดของโรคเพิ่มขึ้น
โรคฝักจุดหรือโรคแอนแทรคโนส (Antracnose)
สาเหตุ เกิดจากเชื้อรา Colletotrichum spp.
ลักษณะอาการ โรคนี้จะเข้าทำลายบนฝักกระเจี๊ยบเขียวร่วมกับโรคที่เกิดจากเชื้อ
Alternaria sp. แต่ลักษณะอาการของโรคแอนแทรคโนสจะรุนแรงกว่า
ทำให้เกิดแผลสีดำหรือน้ำตาลเข้ม เป็นขีด ๆ สั้น ๆ
ไม่กลมเหมือนแผลของโรคที่เกิดจากเชื้อ Alternaria sp.
แผลกระจายทั่วไปบนฝักกระเจี๊ยบเขียว ขอบแผลจะมีรอยช้ำคล้ายน้ำร้อนลวก
แผลจะบุ๋มหรือยุบตัวลงไปจากเนื้อเยื่อของฝัก
การแพร่ระบาด โรคนี้ระบาดได้ง่ายและรวดเร็วในฤดูฝน
และในฤดูหนาวที่มีหมอกและน้ำค้างหรือแหล่งปลูกที่มีความชื้นสูง
โดยเฉพาะการปลูกแบบร่องจีนตามสวนผักทั่ว ๆ ไป แถบหนองแขม นครชัยศรี สามพราน
เชื้อราจะแพร่ไปกับน้ำที่ใช้รดหรือปลิวไปตามลม
ระบาดได้รุนแรงติดต่อไปยังบริเวณใกล้เคียง
การป้องกันกำจัด ควรปฏิบัติดังนี้
- พ่นด้วยสารป้องกันกำจัดโรคพืชในกลุ่มของแมนโคเซ็บ (mancozeb) เช่น ไดเทน
เอ็ม-45 (Dithane M-45) อัตรา 40 กรัมต่อน้ำ 20 ลิตร ทุก 7-15 วัน
สลับกับสารในกลุ่มของไทอะเบนดาโซล (thaibendazole) เช่นพรอนโต (Pronto 45%
W.P.) อัตรา 40 กรัม/น้ำ 20 ลิตร ทุก 7 วัน
- เก็บรวบรวมฝักกระเจี๊ยบเขียวที่เป็นโรคคัดทิ้งส่งตลาดไม่ได้ไปเผาทำลายให้หมด เพื่อไม่ให้เชื้อราแพร่ระบาดต่อไป ไม่ควรนำไปกองไว้รอบบริเวณแปลงปลูก จะทำให้โรคนี้แพร่ระบาดรวดเร็วและรุนแรงมากขึ้น
»
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
»
พันธุ์และแหล่งพันธุ์
»
ฤดูปลูก
»
การเตรียมแปลงปลูกและการปลูก
»
อายุการเก็บเกี่ยว
»
แมลงศัตรูกระเจี๊ยบเขียว
» โรคกระเจี๊ยบเขียว
»
วิธีการเก็บเกี่ยวและการปฏิบัติหลังการเก็บเกี่ยว
»
การขนส่ง
»
การเก็บเมล็ดพันธุ์
»
ลักษณะคุณภาพของกระเจี๊ยบเขียวที่ตลาดต่างประเทศต้องการ
»
ข้อควรคำนึงก่อนปลูก